คนไทยไร้ e-waste (HUB of e-waste)

“ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
และส่งเสริมการกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อม” เพราะ AIS ห่วงใย อยากให้คนไทยปลอดภัย และร่วมรักษ์โลกให้ถูกวิธีไปกับเรา

จำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์
ที่ร่วมกันเก็บเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี (Zero to Landfill)
ชิ้น
เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ใหญ่
ต้น
(ข้อมูลอัปเดต เดือน ธันวาคม 2566)
จำนวนจุดทิ้งเอไอเอส และพันธมิตร
กระจายทั่วประเทศกว่า
จุด
จำนวนพันธมิตร
GREEN Partnership
องค์กร

ขยะอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร
(Electronic Waste)

คือ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ ที่หมดอายุการใช้งาน ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถย่อยสลายได้เอง แถมยังมีสารเคมีอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ลองนึกภาพตามว่าถ้าสารเหล่านี้รั่วไหลลงพื้นดินและแหล่งน้ำ ก็จะสะสมและส่งต่อไปในห่วงโซ่อาหาร ไม่ว่าจะสัตว์หรือมนุษย์ได้รับผลกระทบนี้โดยตรง คิดดูว่าน่ากลัวขนาดไหน ถ้าสารอันตรายเหล่านี้เข้าไปอยู่ในร่างกาย ของเรา

เราช่วยโลกได้อย่างไร?

Step

1

รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์

ประเภทที่รับ

Step

2

นำส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถูกที่กันเถอะ

ช่องทางการทิ้ง

Step

3

ขยะ e-waste ถูกนำส่งไปยัง โรงงานที่ได้รับมาตรฐาน

Step

4

โรงงานรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้รับมาตราฐาน (Zero Landfill)

คลังความรู้

นำส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกที่กันเถอะ

จุดทิ้ง e-waste ของเอไอเอสและพันธมิตรกว่า 2,500 จุด ทั่วประเทศ
ฝากทิ้ง e-waste กับพี่ไปรฯ
อุ่นใจถึง AIS
App e-waste ระบบจัดการ
ขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

สถานการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก

รู้หรือไม่... ขยะอิเล็กทรอนิกส์?
ล้านตัน
ถูกสร้างขึ้นในปี 2564 ปริมาณรวมเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2 ล้านตันต่อปี
เปรียบเทียบเท่ากับ
4500 หอไอเฟล
ความสูง1หอไอเฟล
324 เมตร
และมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังไม่ได้รีไซเคิลมากกว่า
347 ตัน
บนโลกในปี 2023

จำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกต่อปี

ปี 2014
44.4 ล้านเมตริกตัน
ปี 2016
48.2 ล้านเมตริกตัน
ปี 2018
51.8 ล้านเมตริกตัน
ปี 2020
55.5 ล้านเมตริกตัน
ปี 2022
59.4 ล้านเมตริกตัน
ปี 2030
74.7 ล้านเมตริกตัน

(ข้อมูลจาก THEROUNDUP.ORG)

มีเพียง 17.4% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นที่ถูกรวบรวมและรีไซเคิลอย่างเหมาะสม

เข้าสู่โรงงานรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับมาตราฐาน (ZERO LANDFILL) สามารถแยกส่วนออกเป็นชิ้นๆ ที่สามารถแยกตามประเภทและดำเนินการรีไซเคิล เช่น ทองคำ อะลูมิเนียม เงิน ทองแดง และแพลเลเดียม เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แล้วใช้เพื่อสร้างสิ่งของใหม่ๆ ต่อไป (CIRCULAR ECONOMY)

อันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์

น้อยคนนักที่จะรู้ว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชิ้นมีส่วนประกอบของสารอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ไม่ว่าจะเป็นสารตะกั่วที่อาจทำลายระบบประสาท ต่อมไร้ท่อไต ระบบเลือด สารปรอทที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง สมอง และไขสันหลัง หรือแคดเมียมที่มีพิษเฉียบพลัน ทำให้ปอดอักเสบรุนแรง ไตถูกทำลาย และเป็นสาเหตุของอาการไตวายรวมถึงสารอื่นๆ ที่ส่งผลเสียอีกมาก สารอันตรายทั้งหลายเหล่านี้อาจเกิดการรั่วไหลและตกค้างในแหล่งน้ำหรือในธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบและก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย