ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยนวิถีการติดต่อสื่อสารทั้งในการใช้งานส่วนบุคคลและในเชิงธุรกิจก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนโลกออนไลน์อย่างมหาศาลและเชื่อมโยงกันทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความเสี่ยงต่อการโจมตีด้านไซเบอร์ที่มีความซับซ้อน จึงสร้างความกังวลให้แก่ลูกค้าถึงความปลอดภัยของข้อมูลและระบบ ดังนั้นเพื่อรับมือกับความท้าทายและโอกาสดังกล่าว เอไอเอสมุ่งมั่นยกระดับทั้งระบบสารสนเทศและบุคลากรให้มีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้บริการโครงข่ายมือถือและบริการดิจิทัลของเอไอเอสได้รับประโยชน์ ควบคู่ไปกับความปลอดภัยและการคำนึงถึงการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าตามสิทธิที่ลูกค้าพึงมี
แนวทางการดำเนินงาน
เอไอเอสกำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกำกับดูแลกระบวนการและระบบบริหารจัดการสำหรับทุกหน่วยงานตลอดทั้งองค์กร บริษัทมีการตรวจสอบภายในอย่างเป็นระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เป็นไปตามนโยบาย มาตรฐาน และกรอบการทำงานของบริษัท
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
กำหนดมาตรการสำหรับการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าไปจนถึงการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เอไอเอสยังรวมเอาหลัก Privacy by Design และ Privacy by Default ไว้ในบริการและผลิตภัณฑ์ตามความเหมาะสม การตั้งค่าข้อกำหนดสำหรับกระบวนการรับส่งข้อมูล ตลอดจนส่งเสริมความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลของลูกค้าแก่บุคลากรและพันธมิตรทั้งหมด นอกจากนั้น เรายังสร้างระบบและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการตามคำขอของลูกค้าตามกระบวนการดังต่อไปนี้
สำหรับการจัดการคำขอข้อมูล บริษัทให้ข้อมูลลูกค้าแก่หน่วยงานราชการตามกฎหมายและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนของเจ้าของข้อมูลตามเงื่อนไขทางกฎหมาย ขั้นตอนการประเมิน และตอบสนองต่อการบังคับใช้กฎหมายหรือคำขอข้อมูลของรัฐบาล โดยมีกระบวนการดังนี้ :
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
เอไอเอสมีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ และกำหนดข้อปฏิบัติเพื่อบริหารจัดการทดสอบรวมถึงเฝ้าระวังในการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยไซเบอร์ โดยมีการจัดทำและปรับปรุงนโยบายรวมถึงแนวทางการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติสากลรวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
กรอบการดำเนินงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
เอไอเอสนำกรอบการดำเนินงานด้านการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (National Institute of Standards and Technology: NIST) มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบกระบวนการในการป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
สำหรับการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และกระบวนการยกระดับการบริหารจัดการ (escalation process) เอไอเอสได้ประยุกต์ใช้ Cyber Incident Response Framework โดย NIST ในการปฏิบัติงานประจำวัน มีขั้นตอนดังนี้
เอไอเอสได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัยของบริการและข้อมูลของลูกค้า ได้แก่
ตารางสรุปผลการดำเนินงาน
หัวข้อ หน่วย 2562 2563 2564 2565
ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  
จำนวนคำร้องเรียนที่ได้รับในการละเมิดความเป็นส่วนตัวและข้อมูลสูญหาย  
คำร้องเรียนจากบุคคล หรือหน่วยงานทั่วไป 1
กรณี 124 560 7 7
คําร้องเรียนจากหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ
กรณี 47 23 20 11
กรณีข้อมูลรั่วไหล ถูกขโมยหรือสูญหาย กรณี 0 0 0 2
จำนวนคำร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐที่มีอำนาจตามกฏหมาย 2 กรณี 28,334 24,453 25,442 19,454
ร้อยละของจำนวนคำร้องขอทั้งหมด
ร้อยละ - 92 70 91.45
ด้านระบบเครือข่าย  
ความถี่เฉลี่ยกรณีระบบเครือข่ายขัดข้อง
หน่วย 0.05 0.07 0.18 0.07
ระยะเวลาเฉลี่ยสำหรับกรณีระบบเครือข่ายขัดข้อง
นาที 12 39 54 38
หมายเหตุ :
1 ข้อมูลจำนวนคำร้องเรียนที่ได้รับในปี 2565 มีการจำแนกประเภทข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น จึงรายงานคำร้องเรียนที่ได้รับการตรวจสอบว่าสมเหตุสมผลเท่านั้น
2 บริษัทมีการให้ข้อมูลการใช้บริการของผู้ใช้บริการแก่หน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลยุติธรรม สำนักงานตารวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่หัวข้อ การปกป้องระบบสารสนเทศและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ในรายงานการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนประจำปี 2565