เอไอเอสมุ่งมั่นในการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านความยั่งยืน และการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว โดยกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เพื่อกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและมาตรฐานในการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจ อีกทั้งยังให้ความสำคัญต่อปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลในทุกกระบวนการบริหารทั้งคู่ค้าทางธุรกิจรายใหม่และคู่ค้าทางธุรกิจที่มีอยู่เดิม ถือเป็นจรรยาบรรณของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเอไอเอสที่ต้องปฏิบัติตาม

แนวทางการดำเนินงาน
กำหนดนโยบาย ประมวลจริยธรรมคู่ธุรกิจ และกลยุทธ์เพื่อกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและมาตรฐานในการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจ โดยมีแนวทางการบริหารงาน ดังนี้
มาตรฐานการควบคุมคุณภาพช่องทางการจำหน่าย
การใช้ประมวลจริยธรรมคู่ธุรกิจ กับคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัททุกรายอย่างเคร่งครัด ทั้งคู่ค้าทางธุรกิจรายเดิมและรายใหม่ที่ร่วมธุรกิจกับเอไอเอส
กำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะตลาดและการแข่งขัน รวมถึงสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
กำหนดแนวทางการดำเนินงานของตัวแทนจำหน่าย ทั้งด้านคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการภายใต้ภาพลักษณ์ของเอไอเอส
การจัดให้มีหลักสูตรพื้นฐานที่จำเป็น และแผนพัฒนาความสามารถพิเศษ (Competency) ให้กับคู่ค้าทางธุรกิจ
การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่คู่ค้าทางธุรกิจเป็นประจำทุกปี ทั้งในระดับองค์กรและระดับภูมิภาค
การวัดคุณภาพในด้านการขายและการบริการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า และความรู้ความสามารถของตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
การประเมินผลรายได้สำหรับการจ่ายค่าตอบแทน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อการจ่ายผลตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับคู่ค้าทางธุรกิจ
การวัดความพึงพอใจของตัวแทนการจัดจำหน่าย โดยประเมินความพึงพอใจเป็นประจำทุกปี และนำผลที่ได้มาพัฒนาคุณภาพการให้บริการของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง
การประเมินและบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี ผ่านวิธีการที่หลากหลาย เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการตรวจประเมินคู่ค้าทางธุรกิจผ่านแบบประเมินตนเอง เป็นต้น

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่หัวข้อ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ในรายงานประจำปี 2565 และเว็บไซต์ AIS Procurement