การบริหารจัดการบุคลากรให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจยุคดิจิทัลและทิศทางธุรกิจใหม่ของบริษัทส่งผลกระทบกับพนักงานที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับทักษะที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเป็นทั้งโอกาสให้พนักงานได้ปรับและเพิ่มทักษะใหม่ ๆ และเป็นความท้าทายที่อาจทำให้พนักงานรู้สึกถึงสภาวะกดดันจากวิถีการทำงานในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะการ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เอไอเอสตระหนักถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว จึงวางแนวทางการบริหารจัดการเพื่อรักษาสมดุลระหว่างการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพควบคู่ ไปกับการดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงาน เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีความสุข และเต็มขีดความสามารถของตนเอง
แนวทางการดำเนินงาน
กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน และมุ่งส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวความคิด “FIT FUN FAIR” และสนับสนุนให้พนักงานพัฒนาทักษะดิจิทัลและศักยภาพเพื่อตอบรับความท้าทายทางธุรกิจแบบดิจิทัล
The 6Ss Strategy
กลยุทธ์การบริหารงานทรัพยากรบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรและผลักดันให้พนักงานใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรผ่านกลยุทธ์ 6Ss
การสรรหารักษาบุคลากรที่มีคุณภาพและแผนสืบทอดตำแหน่ง
เอไอเอสเน้นหลักการดังต่อไปนี้ การยึดมั่นหลักการจ้างงานด้วยความเป็นธรรม การบริหารจัดการบุคลากรที่มีความสามารถโดดเด่นภายในองค์กร การสรรหาบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล การสนับสนุนความก้าวหน้าในสายอาชีพ การรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าขององค์กร โดยกำหนดการบริหารค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน รวมไปถึงการให้สวัสดิการที่ดีต่อพนักงาน และการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง เอไอเอสกำหนดค่าตอบแทนให้เหมาะสมเป็นไปตามกฎหมาย โดยมีเกณฑ์การประเมินผลเป็นไปตามกรอบหลักการ ดังนี้
การพัฒนาศักยภาพของพนักงานด้วยวัฒนธรรมการ ทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบไร้ขีดจำกัด
เอไอเอสวางกลยุทธ์การพัฒนาบุคคลภายใต้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning) โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา EdTech (Education Technology) มาใช้ให้พนักงานสามารถเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์และออฟไลน์ผ่านช่องทาง LearnDi เป็นเสมือนกับ Hub ด้านองค์ความรู้และทักษะใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน Soft skill และ Hard skill และ Technical Knowledge Management (TKM) ที่เน้นเสริมสร้างทักษะความสามารถหลัก อาทิ Cloud computing, 5G, Artificial Intelligence (A.I.) เพื่อการตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัลใหม่ ๆ ของเอไอเอสและโลกอนาคต
เอไอเอสเพิ่มศักยภาพของพนักงานผ่านโปรแกรมการพัฒนาและการฝกอบรมที่หลากหลาย ซึ่งมีรูปแบบการพัฒนาในสัดส่วน 70 : 20 : 10 ดังนี้
การมีส่วนร่วมและความผูกพันของบุคคลากร
บริษัทตระหนักว่าพนักงานคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด และเปรียบเสมือนพลังองค์กร ดังนั้นการรับรู้และตอบสนองความคาดหวังของพนักงานจึงเป็นสิ่งที่่องค์กรให้ความสำคัญตลอดมา เอไอเอสจึงได้ดำเนินการสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพนักงาน รวมถึงแนวทางการพัฒนาบรรยากาศการทำงานในรููปแบบ New Normal ผ่านการประเมิน AIS Organization Climate Survey 2021 โดยในแบบสำรวจมีข้อคำถามที่สะท้อนถึงพฤติกรรมของพนักงานที่แสดงออกถึงความมีส่วนร่วม และผูกพันต่อบริษัท ใน 3 ด้าน ได้แก่
1. SAY : พูดถึงบริษัทในแง่ดี
2. STAY : พฤติกรรมและความตั้งใจที่จะอยู่ทำงานที่องค์กรต่อไป
3. STRIVE : พฤติกรรมที่พนักงานมีความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติงาน หรือทำผลงานให้ดีกว่าตามหน้าที่่ปกติ
ในปี 2564 มีสัดส่วนพนักงานที่เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ ร้อยละ 83 และจากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 75 พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมและผูกพัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศไทย (ร้อยละ 70) สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มบริษัทโทรคมนาคมทั่วโลก (ร้อยละ 62) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก (ร้อยละ 61) โดยผลการสำรวจดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่บริษัทฯ นำไปใช้ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกิจกรรมขององค์กรให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับความจำเป็น และความต้องการของพนักงานต่อไป
การส่งเสริมและสนับสนุนสวัสดิการเพื่อดูแลพนักงานแบบองค์รวม
ห้องให้นมบุตรและสิ่งอำนวยความสะดวก
การจัดหาพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่บุตรพนักงาน
การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดี มีรายได้และ ความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพพนักงานผู้พิการ
โครงการที่เราจัดทำ
โครงการ AIS InnoJump Competition
เอไอเอสผลักดันให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กรอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรม และหลักสูตรต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมความรู้ และทักษะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการสร้างนวัตกรรม เช่น ทักษะความเป็นผู้ประกอบการ กระบวนการทำความเข้าใจโดยความความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระบวนการคิดแบบ Design Thinking รวมไปถึงกระบวนการทำงานแบบ Agile เพื่อส่งเริ่มให้พนักงานมีความคล่องตัว และความยืดหยุ่นในการทำงานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ตารางสรุปผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด หน่วย 2562 2563 2564 2565
ข้อมูลพนักงาน  
จำนวนพนักงานทั้งหมด
คน 12,701 13,975 12,909 13,141
ความหลากหลายอื่น ๆ  
พนักงานกลุ่มผู้พิการ
คน 112 202 142 149
ร้อยละ 0.9 1.4 1.1 1.1
การฝึกอบรมพนักงาน  
จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมทั้งหมด
ชั่วโมง 613,557 517,165 422,422 374,737
จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อคน
ชั่วโมงเฉลี่ยต่อคน 49 37 32 29
การลาออก (พนักงานประจำ)  
จำนวนการลาออกทั้งหมด
คน 793 573 830 1,151
อัตราการลาออกทั้งหมด
ร้อยละ 9.03 6.12 9.15 12.86
จำนวนการลาออกโดยสมัครใจ
คน 758 475 755 1,043
อัตราการลาออกโดยสมัครใจ
ร้อยละ 8.64 5.07 8.32 11.66

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่หัวข้อ การพัฒนาและดูแลบุคลากรแบบองค์รวม ในรายงานการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนประจำปี 2565