ในช่วงที่ผ่านมาการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เป็นความท้าทายและเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการเสริมศักยภาพให้ภาคธุรกิจผ่านบริการสมาร์ทโซลูชันต่าง ๆ และการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายผ่านบริการส่วนบุคคล และแนวโน้มการบริโภคที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้น เอไอเอสตระหนักถึงความท้าทายดังกล่าว จึงต้องปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ (Transformation) โดยต้องเป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่ายที่นับวันความสามารถในการทำกำไรจากธุรกิจการเชื่อมต่อ (Connectivity) อยู่ในจุดอิ่มตัวและมีแนวโน้มลดลง และก้าวเข้าสู่เป็น “Cognitive Tech-Co” เพื่อแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ ๆ จากการให้บริการดิจิทัลในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้สามารถเติบโตได้ในระยะยาว
แนวทางการดำเนินงาน
เอไอเอสเพิ่มความสามารถในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ และส่งเสริมการเติบโตของแหล่งรายได้ใหม่ในธุรกิจด้านดิจิทัลไลฟ์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้บริโภคและแนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในยุคดิจิทัล พร้อมสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อนวัตกรรมเพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนและส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทั้งจากองค์ความรู้ภายในองค์กรและภายนอกองค์กรให้มีประสิทธิภาพตามกรอบนวัตกรรมแบบเปิดของเอไอเอส
โครงสร้างนวัตกรรมแบบเปิดของเอไอเอส
นอกจากนี้ เอไอเอสยังมุ่งมั่นที่จะเติบโตไปพร้อมกับพันธมิตร โดยการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานวิชาการภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี รวมถึงร่วมกันพัฒนาโซลูชั่นใหม่ ๆ โดยใช้หลัก Collaboration Diamond ซึ่งมีเกณฑ์และกระบวนการความร่วมมือกับพันธมิตร ดังนี้
เกณฑ์การบริหารจัดการความสัมพันธ์
โครงการที่เราจัดทำ
ระบบขนส่งด้วยยานยนต์ไร้คนขับ
เอไอเอสร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น SCG หัวเว่ย และผสานความเชี่ยวชาญจาก Yutong และ Waytous ร่วมกันพัฒนาระบบขนส่งด้วยยานยนต์ไร้คนขับ ด้วยขีดความสามารถของโครงข่ายอัจฉริยะ 5G เพื่อช่วยยกระดับให้การขนส่งในพื้นที่อุตสาหกรรมของ SCG มีประสิทธิภาพและลดการทำงานของคนขับในพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยง
ศูนย์นวัตกรรมความร่วมมือระหว่างเอไอเอสและหัวเว่ย (JOINT INNOVATION CENTER หรือ JIC)
เอไอเอสร่วมกับหัวเว่ยพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ครอบคลุมด้านไอที เครือข่าย บริการเสริม อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และ Internet of Things ในการพัฒนาเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเฉพาะที่ทำให้ความครอบคลุมและประสิทธิภาพการส่งสัญญาณดีขึ้นด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง และการใช้เทคโนโลยีที่ทำให้ 4G และ 5G สามารถทำงานอยู่บนคลื่นความถี่เดียวกันได้
ศูนย์นวัตกรรม 5G A-Z CENTER เพื่อพัฒนาโครงข่าย 5G อัจฉริยะ
เอไอเอสร่วมมือกับ ZTE Corporation โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของดิจิทัลเทคโนโลยีให้มีความแข็งแกร่ง ด้วยความร่วมมือ 3 ด้านหลักได้แก่
1) พัฒนานวัตกรรม 5G ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชั่น
2) อัพเกรดเครือข่าย 5G สู่เครือข่ายดิจิทัลอัจฉริยะด้วยการประมวลผล Big Data และ AI
3) ขยายขีดความสามารถของ 5G เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม
โครงการ SDG LAB โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเอไอเอส
เอไอเอสร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินโครงการ “SDG Lab by Thammasat & AIS” ภายใต้แนวคิดเชิงบูรณาการ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G และ IoT มาพัฒนานวัตกรรมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในมิติต่าง ๆ อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาเทคโนโลยีดิจิทัลและดิจิทัลโซลูชันผ่านโครงการ
ตารางสรุปผลการดำเนินงาน
หัวข้อ หน่วย 2562 2563 2564 2565
พันธมิตรในการดำเนินธุรกิจโดยรวม 1 ราย 89 80 77 74
การออกสินค้าและบริการใหม่ 2 รายการ 37 39 108 104
การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา ล้านบาท 159 110 253 248
หมายเหตุ :
1 พันธมิตรบนเอไอเอสพาร์ทเนอร์แพลตฟอร์ม ที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาด
2 การออกสินค้าและบริการใหม่ ได้แก่ สินค้าที่เปิดให้บริการใหม่ หรือ มีการพัฒนาฟังก์ชันการใช้งานภายในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงโครงการอื่น ๆ ได้ที่หัวข้อ มุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัล ในรายงานการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนประจำปี 2565