ที่มาของโครงการlogo aunjai cyber

เอไอเอสเดินหน้าส่งเสริมความเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ภายใต้โครงการ “AIS อุ่นใจ CYBER” ตั้งแต่ปี 2562 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสร้างทักษะดิจิทัลให้ประชาชนคนไทยทุกเพศทุกวัย และเพื่อสร้างสังคมอุ่นใจจากการใช้งานในโลกไซเบอร์ โดยเน้นการร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย ทั้งในด้านการศึกษา และสุขภาพจิต เพื่อมุ่งขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายให้สามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย

compact edition
ACTIVE USERS
376,558
nong aunjai

ความมุ่งมั่นขององค์กร

มุ่งสร้างแบรนด์ที่ส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมและปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน

จากสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก ผ่านรายงาน Digital 2022 Global Overview ผลสำรวจของ Thailand Internet User ในปี 2022 พบว่า คนไทย มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตถึงร้อยละ 77.8 หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ยใช้อินเทอร์เน็ต 9.06 ชั่วโมง/วัน ซึ่งค่าเฉลี่ยของการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้ใช้งานทั่วโลก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงและต้องเฝ้าระวัง หากผู้ใช้งานไม่มีความรู้หรือใช้งานไม่ถูกวิธี อาจนำมาซึ่งภัยคุกคามที่แฝงมากับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยมิจฉาชีพ (Scammer) จะทำการหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น อีเมล เฟซบุ๊ก หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การหลอกลวงทางโทรศัพท์ (Call center) การหลอกให้เกิดความโลภ (Hybrid scam)การหลอกให้เกิดความรัก (Romance scam) เป็นต้น

อ้างถึงข้อมูล สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. ได้ศึกษาและสำรวจเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2565 ในประชากรช่วงอายุ 17-77 ปี พบว่า ประชากรในประเทศไทยร้อยละ 48.1 มีประสบการณ์ถูกหลอกลวงมาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี โดยในกลุ่มดังกล่าว พบว่าร้อยละ 42.6 ตกเป็นเหยื่อที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยประมาณ 2,400 บาทต่อคน โดยจากข้อมูลพบว่า Gen Y หรือผู้ที่เกิดปีพ.ศ. 2523 - 2540 และ Gen Z หรือผู้ที่เกิดปีพ.ศ. 2540 ขึ้นไป ถูกหลอกลวงสูงกว่า Gen X หรือผู้ที่เกิดปีพ.ศ. 2508 – 2522 ในขณะที่กลุ่ม Baby Boomer หรือผู้ที่เกิดปี 2489 – 2507 มีมูลค่าความเสียหายต่อครั้งในการถูกหลอกสูงสุดต่อครั้ง โดยรูปการหลอกลวงที่พบมาก คือ อีเมล์/SMS หลอกลวง ขณะที่ประเภทการหลอกลวงที่มีอัตราการตกเป็นเหยื่อสูงสุด คือ หลอกขายสินค้าออนไลน์ ซื้อแล้วไม่ได้รับของ โดยมีอัตราการตกเป็นเหยื่อสูงถึงร้อยละ 82.6

generations

สรุปภาพรวมจากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น เอไอเอส ในฐานะผู้ให้บริการ Cognitive Tech-Co ตระหนักถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าร่วมในการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะทางดิจิทัลของคนไทย โดยเชื่อว่า การพัฒนาทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy) จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดการเกิดปัญหาดังกล่าว เป็นเกราะป้องกันจากภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น เอไอเอส มีเจตนารมณ์ในการมุ่งสร้างการเติบโตร่วมกันของคน และ สิ่งแวดล้อม ในโลกดิจิทัล มุ่งสร้างการเข้าถึงดิจิทัลให้ทุกคนในสังคม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education) มุ่งเน้นสร้างหลักประกันว่าเด็กทั้งชายและหญิงสามารถเข้าถึงการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย นั้น ซึ่ง เอไอเอส ได้พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล “LearnDi by AIS Academy” เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรไทยให้เข้าถึงองค์ความรู้ ทะลายกรอบการเรียนรู้แบบเดิมๆ ให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับคนไทยทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าเรียนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

เพื่อสร้างทักษะทางดิจิทัล (Digital Literacy) ความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างไม่ถูกวิธี การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพนั้น เอไอเอส ได้นำความเชียวชาญทางด้านดิจิทัลที่มีอยู่ผนวกกับความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ กระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ครั้งแรกของไทย

เราตอบสนองต่อประเด็นนี้อย่างไร

“ความเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์” เป็นหนึ่งในประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของเอไอเอส ตั้งแต่การให้ความรู้และส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป ไปจนถึงการคัดสรรโซลูชั่นหรือเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ตอบโจทย์การให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อการพัฒนาและขยายผลของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เอไอเอสมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องคนไทยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมส่งเสริมสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ประชาชนไทย มีภูมิคุ้มกันทางด้านดิจิทัล รวมกว่า 3 ล้านคน ในปี พ.ศ.2570 ผ่านกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ภายใต้โครงการ “อุ่นใจ CYBER”

  • สร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Wisdom) ด้วยการจับมือภาคีเครือข่ายร่วมกันจัดทำองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางดิจิทัลให้แก่คนไทย จัดทำหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ เผยแพร่บนออนไลน์แพลตฟอร์ม ออนไลน์ LearnDi for Thais ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยทุกเพศทุกวัยเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี
  • ป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล (Technology) ด้วยการจัดหาดิจิทัลโซลูชัน ให้กับลูกค้าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบ้าน เครื่องมือที่ช่วยให้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรืออยู่บนโลกออนไลน์ได้อย่าง ปลอดภัยและสร้างสรรค์
  • สร้างความตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยี (Awareness) ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะทางออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์แก่ประชาชนทั่วไป

โครงการที่เราจัดทำ

เอไอเอสต่อยอดส่งเสริมความเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ภายใต้โครงการ “อุ่นใจ CYBER” ตั้งแต่ปี 2562 โดยเน้นการร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ภาคการศึกษา เพื่อมุ่งขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงการรับมือกับภัยไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Literacy) สร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ และป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต ดังต่อไปนี้

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้มีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เอไอเอสเดินหน้าส่งเสริมความเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ภายใต้โครงการ “อุ่นใจ CYBER” ตั้งแต่ปี 2562 โดยเน้นการร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย เพื่อมุ่งขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายให้ความรู้และสร้างความตระหนักถึงการรับมือกับภัยไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้บุคคลที่สามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพและใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างปลอดภัย

ส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล (Wisdom)

เอไอเอส ร่วมมือ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนาหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ โดยหลักสูตรได้ผ่านการพิจารณารับรองหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยคุณครูสามารถนำผลการพัฒนามานับชั่วโมงการพัฒนาเพื่อประกอบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เป็นสื่อการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการใช้งานและการสื่อสารบนโลกออนไลน์ ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นและเสริมสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัลบนออนไลน์แพลตฟอร์ม LearnDi for Thais ให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย สามารถเรียนรู้ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านทางเว็บไซต์ https://learndiaunjaicyber.ais.co.th และแอปพลิเคชัน อุ่นใจไซเบอร์

บทเรียนในหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ นำเสนอเนื้อหาด้วย 4 Professional Skill Module 4P4ป ได้แก่

  1. Practice : ปลูกฝังการใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. Personality : ปกป้องความเป็นส่วนตัว แนะนำการจัดการความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์
  3. Protection : ป้องกันภัยออนไลน์ เพื่อให้สามารถป้องกันภัยไซเบอร์
  4. Participation : ปฏิสัมพันธ์ที่ดี แนะนำทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม
4P

โดยแบ่งเนื้อหาของหลักสูตรฯ เพื่อให้ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมตามวัยของผู้เรียน และสามารถการนำความรู้ไปปรับใช้ชีวิตประจำวัน จึงแบ่งเนื้อหาของหลักสูตรออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่

advanced level
สื่อการเรียนรู้สำหรับบุคคลทั่วไป
(ผู้เรียนอายุ 18 ปีขึ้นไป) (Advanced Level):
รวมรวมเนื้อหาที่ส่งเสริมการทักษะและสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลที่เกี่ยวกับตนเองไปจนถึงระดับองค์กร รวมถึงความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาที่ท้าทายใหม่ๆ เหมาะสำหรับบุคคลในช่วงของนักศึกษามหาวิทยาลัย วัยทำงาน จนไปถึงผู้สูงอายุ
fundamental level
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน
(ผู้เรียนอายุ 9 -18 ปี) (Fundamental Level):
รวมรวมเนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการใช้งานทั่วไป เกี่ยวกับตนเองเป็นหลัก นำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีและสื่อในโลกยุคดิจิทัลได้อย่างเกิดประโยชน์ มีความรับผิดชอบและปลอดภัย เพื่อให้เสริมสร้างพลเมืองดิจิทัลที่ดี
compact edition
สื่อการเรียนรู้ฉบับเร่งรัด
(Compact Edition):
รวบรวมเนื้อหาที่เป็นความรู้พื้นฐาน ในการใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงวัย หรือคนทุกไทยเพศทุกวัยที่ต้องการมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีประจำวัน
img 01
img 02

โดยเอไอเอส ได้ร่วมมือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หน่วยงานที่กำกับดูแลสถานศึกษาของประเทศไทย จัดโครงการทดลองทดสอบ (Sandbox) นำร่องอบรมการเรียนรู้เพื่อการสอนในหลักสูตร อุ่นใจไซเบอร์ ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้คุณครูในสังกัด สพฐ. เรียนรู้การใช้งานแพลตฟอร์มและมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรฯ เพื่อให้คุณครูนำไปใช้ เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางไซเบอร์ให้แก่เด็กและเยาวชนไทยโดยมีศึกษานิเทศก์ และครูแกนนำเช้าร่วมอบรม 1,500 คน โดยครูแกนนำในสังกัด สพฐ. สามารถนำผลการพัฒนามานับชั่วโมงการพัฒนาเพื่อประกอบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)

นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ร่วมกันลงนามความร่วมมือ พร้อมเปิดตัว “อุ่นใจไซเบอร์” หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ครั้งแรกของไทย ที่เป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ยกระดับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เพื่อปกป้องภัยไซเบอร์ สร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลยุคใหม่ตั้งแต่เด็กและเยาวชนไปจนถึงคนทั่วไป พร้อมเดินหน้าชวนคนไทยทุกเพศ ทุกวัย เข้าร่วมเรียนรู้วัดระดับทักษะดิจิทัล จากหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” เพื่อยกระดับองค์ความรู้ในฐานะพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship)

img 03

การป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล

เอไอเอสมีบริการ AIS Secure Net และ AIS Fibre Secure Net ที่ปกป้องลูกค้าจากภัยด้านไซเบอร์ผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม (network-based security solution) ซึ่งช่วยเอเอไอเอสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่อภัยด้านไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พวกไวรัส มัลแวร์ ลิงก์ปลอม และรวมไปถึงเว็ปไซต์ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เนื่องจากสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องลงแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ยังร่วมเป็นพันธมิตรกับ Google เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการใช้งานแอพพลิเคชัน Family Link ที่ให้ผู้ปกครองสามารถดูแลและฝิกการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลานอย่างเหมาะสม

Secure Net+ Protected by MSIG คือ บริการที่มอบความคุ้มครองครอบคลุมจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส มัลแวร์ หรือ เว็บไซต์หลอกลวง ผ่านการบล็อกผ่านเครือข่าย AIS 5G, 4G และ 3G ไม่ต้องติดตั้ง application ใดๆ พร้อม มอบ วงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 50,000 บาท ตลอด 12 เดือน จากประกันภัยไซเบอร์โดย MSIG ทันทีที่สมัครบริการ เพื่อให้คุณและคนที่คุณรักสามารถท่องโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจมากขึ้น
สมัครบริการได้ที่ *689*10# โทรออก

AIS Fibre Secure Net คือ อีกหนึ่งบริการของ AIS Fibre3 ที่ส่งมอบให้กับลูกค้าอินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง ได้รับการแจ้งเตือนและปกป้องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ที่มีความเสี่ยงและอาจพบไวรัส มัลแวร์ และลิงก์ปลอม ผ่านทางเครือข่าย AIS Fibre3 เพื่อความปลอดภัยกับผูใช้งานอินเตอร์เน็ตทุกคนในบ้าน ใช้งานง่าย ไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมใดๆ บนตัวอุปกรณ์เลย สามารถใช้งานได้กับ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต พีซี โน๊ตบุ๊ค รวมไปถึง สมาร์ททีวี และกล่อง Play box เป็นต้น

AIS ร่วมมือกับ Google ในการสนับสนุนแอปพลิเคชัน Family Link ที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองสามารถดูแลการใช้สมาร์ตโฟนของบุตรหลานได้อย่างปลอดภัย และช่วยฝึกฝนพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กที่เริ่มใช้สมาร์ตโฟนเป็นครั้งแรก

ฟังก์ชันต่างๆ ของแอปพลิเคชันนี้ครอบคลุมการกำหนดและรายงานการใช้งานโทรศัพท์ การดูแลการใช้และติดตั้งแอปพลิเคชันใหม่ การเข้าถึงเว็บไซต์ของเด็กๆ และการค้นหาตำแหน่ง ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ และปลอดภัย

img 04

ปัจจุบัน ในปี 2565 มีผู้ใช้ AIS Secure Net กว่า 156,511 ราย (31 ต.ค. 65) จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (AIS Secure Net) ขณะเดียวกันได้ขยายขอบเขตการป้องกันภัยไซเบอร์จากบริการอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่สู่อินเทอร์เน็ตบ้านความเร็วสูง หรือ AIS Fibre Secure Net ในเดือนเมษายน เพื่อขยายขีดความสามารถในการป้องกันภัยไซเบอร์ต่าง ๆ ที่มาจากอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไฟเบอร์ และได้การตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยมีผู้ใช้ AIS Fibre Secure Net ในปีนี้กว่า 22,220 ราย (31 ต.ค. 65)

img 05

นอกจากนี้ เอไอเอส ยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องดูแลข้อมูลการใช้งานของลูกค้าให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพด้วยบริการ สายด่วนโทรฟรี 1185 - AIS Spam Report Center ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ หรือ AIS Spam Report Center ให้ลูกค้า เอไอเอส สามารถโทรฟรีในรูปแบบ IVR Self Service และ AI Chatbot เพื่อแจ้งเบอร์โทร หรือ SMS ที่คาดว่าเป็นกลุ่มมิจฉาชีพ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูล หากตรวจพบความผิดปกติและยืนยันได้ว่าเบอร์โทร และ SMS ดังกล่าวเป็นกลุ่มมิจฉาชีพจริง AIS จะทำการบล็อกเบอร์โทรและ SMS ในทันที และแจ้งกลับลูกค้าทาง SMS ภายใน 72 ชั่วโมง พร้อมส่งเรื่องไปยังตำรวจไซเบอร์ เพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายขั้นสูงสุด

สร้างความตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี

เอไอเอสนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมการความรู้เท่าทันโลกออนไลน์และใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทางประชาสัมพันธ์ ผ่าน Social Media บนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย อาทิ Facebook, YouTube, Twitter, TikTok ฯลฯ โดย มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายจากทุกเครือข่าย ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน

img 06
img 07
ยอดชม 287,154 ครั้ง | ณ วันที่ 30 พ.ย. 2565

เช่น การสร้างความเข้าใจด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยห่างไกลภัยจากกลุ่มมิจฉาชีพ ในวัน Safer Internet Day จับมือ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทยด้วยการสื่อสารอย่างตรงประเด็นเน้นย้ำ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

img 08
ยอดชม 101,534 ครั้ง | ณ วันที่ 30 พ.ย. 2565

และยังร่วมแสดงพลังในการหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เนื่องในวัน Stop Cyberbullying Day 2022 ร่วมรณรงค์ให้คนไทยเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญ และตื่นตัวในการหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดทำวีดีโอคลิปแนะนำวิธีรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ผ่านแนวคิด “PleaseCallMebyMyName” หยุดทำร้ายความรู้ โปรดเรียกฉันด้วยชื่อฉัน พร้อมสร้างพื้นที่ให้ชาวโซเชียลได้มาแชร์ประสบการณ์ พร้อมแนะนำวิธีการ รับมือการถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์

img 09
img 10
img 11
ยอดชม 101,534 ครั้ง | ณ วันที่ 30 พ.ย. 2565

ความร่วมมือภาคเอกชน

AIS อุ่นใจ CYBER x Joylada : Let’s Level up
img 12

เพื่อเป็นการขยายผลเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ในการรับมือกับภัยไซเบอร์ไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Next Gen ด้วยกลยุทธ์ Edutainment ที่ต้องการสร้างรูปแบบการนำเสนอที่แปลกใหม่ สร้างสรรค์ ทำให้เป็นที่มาของการทำงานร่วมกับ “จอยลดา” แพลตฟอร์มนิยายแชทชั้นนำที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 10 ล้านดาวน์โหลด ในการใช้ศักยภาพความแข็งแกร่งร่วมกันทั้งด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยี ของ AIS อุ่นใจ CYBER และ การสร้าง Storytelling จากภัยไซเบอร์ในรูปแบบนิยายแชท 7 เรื่อง ที่สะท้อนถึง 7 ทักษะหลักที่คนไทยควรรู้ในยุคไซเบอร์ โดย 7 นักเขียนจอยลดา เพื่อสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับโลกอินเทอร์เน็ต ภายใต้แคมเปญ AIS อุ่นใจ CYBER X Joylada : Let’s Level up ฝ่าภารกิจอัปเลเวล ความรู้ สู่สุขภาวะดิจิทัลที่ดี เพื่อสร้างเสริมความรู้และทักษะการใช้งานบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยในกลุ่มนักอ่านนิยายแชทช่วงอายุ 13-25 ปี เผยแพร่บนแอปพลิเคชัน “Joylada” และทาง Microsite ปัจจุบันมีการอ่านนิยายแชทรวมกว่า 2.9 ล้านครั้ง

AIS อุ่นใจ CYBER จับมือ ขายหัวเราะสตูดิโอ ส่งการ์ตูนชุดเล่าเรื่องด้วยความรู้ผ่าน 8 ทักษะดิจิทัล

AIS อุ่นใจ CYBER จับมือ Content Creator ชั้นนำอย่าง ขายหัวเราะสตูดิโอ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเชิญชวนคนไทยให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ในวัน Safer Internet Day 2023 นำ 8 ทักษะดิจิทัล จากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ออกมาสื่อสารให้คนไทยรู้เท่าทันสามารถใช้ชีวิตอยู่กับโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยได้ทำงาน ดึงกลยุทธ์การสื่อสารแบบ Edutainment นำทักษะดิจิทัลมาสร้าง Storytelling ในรูปแบบการ์ตูน เรื่อง “เมื่อผมตกหลุมรักขึ้นไม่ไหว” ให้มีความสนุกและน่าสนใจ เพื่อให้คนไทยมีความเข้าใจถึงทักษะด้านดิจิทัลอันจะนำไปสู่การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ห่างไกลจากภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ

ความร่วมมือภาครัฐ

นอกจากนี้ ภาคีเครือข่ายทั้ง 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ลงนามความร่วมมือ พร้อมเปิดตัว “หลักสูตร อุ่นใจ CYBER” หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ครั้งแรกของไทย ที่เป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ยกระดับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล เพื่อปกป้องผู้ใช้งานออนไลน์จากภัยไซเบอร์ สร้างภูมิคุ้มกันการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลยุคใหม่ตั้งแต่เด็กและเยาวชนไปจนถึงประชาชนทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้น คุณครูสามารถเรียนรู้หลักสูตรนี้ได้เอง และยังสามารถนำไปสอนนักเรียนได้บนแพลตฟอร์มดิจิทัล LearnDi และแอปพลิเคชัน อุ่นใจ CYBER ด้วยการออกแบบเนื้อหาที่อ้างอิงมาตรฐานตามกรอบการพัฒนาทักษะทางดิจิทัลอย่าง DQ Framework (Digital Intelligence Quotient) และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ตั้งเป้าส่งต่อไปยังสถานศึกษากว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย พร้อมเดินหน้าชวนคนไทย ทุกเพศ ทุกวัย เข้าร่วมเรียนรู้วัดระดับทักษะดิจิทัล จากหลักสูตร “อุ่นใจ CYBER” เพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะในฐานะพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship)

ช่องทางการเรียนรู้
https://learndiaunjaicyber.ais.co.th
qr code
app store
google play
nong aunjai 1
nong aunjai 2

มีความรู้ก็อยู่รอด

นอกจากส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะทางดิจิทัลแล้ว เอไอเอส ยังสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) ถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีโดยได้ทำหนังโฆษณา ภายใต้แนวคิด “มีความรู้ก็อยู่รอด” ชวนคนไทยหยุดเสี่ยงกับทุกภัยไซเบอร์ เรียนรู้ทักษะสู่พลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันภัยจากโลกออนไลน์ โดยมุ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาจากภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ ที่วันนี้กำลังกลายเป็นปัญหาคอขาดบาดตาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และสิ่งเดียวที่จะทำให้เราเอาชนะภัยไซเบอร์ได้ก็ คือ “ความรู้” โดยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองกับหลักสูตร “อุ่นใจ CYBER” โดยสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งมียอดการรับชมกว่า 8.9 ล้านครั้ง นอกจากนี้ ยังสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศผ่านสื่อออฟไลน์ เช่น TV และสื่อป้ายโฆษณา

เน้นสร้างการรับรู้และมุ่งสร้างมาตรฐานดัชนีชี้วัดทักษะดิจิทัลให้กับคนไทย รวมถึงการพัฒนาหลักสูตร อุ่นใจ CYBER บนแพลตฟอร์มที่ให้คนไทยสามารถเข้ามาเรียนรู้เพื่อวัดระดับการรับมือกับภัยไซเบอร์รูปแบบต่างๆ โดยเนื้อหาของหลักสูตร อุ่นใจ CYBER ผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

img 31
img 32
img 33
img 34
img 35
ยอดชม 1.5 ล้าน ครั้ง | ณ วันที่ 30 พ.ย. 2565

ตารางสรุปผลการดำเนินงาน

  หน่วย 2562 2563 2564 2565
ส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการอุ่นใจ CYBER คน
โรงเรียน
43,200
378
35,000
378
พัฒนาหลักสูตร “อุ่นใจ CYBER” จำนวน ผู้ลงทะเบียนเรียนหลักสูตร 155,064 (31 ต.ค. 65)
ป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล
ผู้ใช้บริการ AIS SECURE NET ราย 47,600 124,600 131,195 156,511 (31 ส.ค. 65)
AIS FIBRE SECURE NET ราย - - 10,821 22,220 (31 ต.ค. 65)