เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้คนหลากหลายด้านที่นับวันยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในด้านการทำงาน การศึกษา การสาธารณสุข การกีฬาและบันเทิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตามอาจแฝงมาด้วยภัยคุกคามออนไลน์ในรูปแบบ ต่าง ๆ อาทิ การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และ การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เอไอเอสมีความรับผิดชอบต่อบริการที่ส่งถึงผู้บริโภค เราเห็นความจำเป็นในการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะออนไลน์ให้คนไทยเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้คนให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม และยังช่วยลดทอนปัญหาภัยคุกคามไซเบอร์จากมิจฉาชีพ รวมถึงการใช้งานออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม
ผลการดำเนินงาน
ปี 2566
คน
ผู้เข้าร่วมหลักสูตรอุ่นใจ CYBER
คน
ผู้ใช้บริการเครื่องมือดิจิทัลป้องกันภัยไซเบอร์จากเอไอเอสและพันธมิตร
คน
เป้าหมายการดำเนินงาน
ปี 2570
3
ล้านคน
ล้านคน
ผู้เข้าร่วมโครงการ "อุ่นใจ CYBER"
หมายเหตุ: ไม่รวมผู้ใช้งานสายด่วน 1185 แจ้งเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ
แนวทางการดำเนินงาน
เอไอเอสมีความมุ่งมั่นที่จะปกป้องประชาชนคนไทยจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ พร้อมทั้งส่งเสริมสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ โดยเน้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ เป็นต้น เราได้วางกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน ภายใต้โครงการ “อุ่นใจ CYBER” สามารถอ่านรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมได้ที่นี่
โครงการที่เราจัดทำ
สร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัล
เอไอเอสร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขและคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนาหลักสูตร อุ่นใจ CYBER ให้เป็นสื่อการเรียนรู้เสริมสร้างทักษะการใช้งานและการสื่อสารบนโลกออนไลน์ในรูปแบบดิจิทัล ให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย สามารถเรียนรู้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยเครื่องมือดิจิทัล
เอไอเอสมีบริการ AIS Secure Net และ AIS Fibre Secure Net ที่ปกป้องลูกค้าจากภัยด้านไซเบอร์ผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม (network-based security solution) ซึ่งช่วยเอไอเอสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่อภัยด้านไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เอไอเอสยังจับมือกับพันธมิตรระดับโลก เพิ่มแอปพลิเคชันทางเลือกให้กับลูกค้า เสริมความแข็งแรงในการปกป้องและส่งเสริมการใช้งานออนไลน์อย่างปลอดภัยและเหมาะสมให้แก่ลูกค้า
บริการสายด่วน
เอไอเอสได้เปิดสายด่วน 1185 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน หรือ AIS Spam Report Center เป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าโทรฟรี เพื่อแจ้งข้อมูลเบอร์โทรและ SMS มิจฉาชีพ
สร้างความตระหนักถึงอันตรายและผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี
เอไอเอสนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันโลกออนไลน์และใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทางประชาสัมพันธ์ ผ่าน Social Media บนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เช่น Facebook, YouTube, TikTok เป็นต้น
ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)
เอไอเอส ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล สร้างมาตรวัดทักษะทางดิจิทัล “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล” หรือ Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ซึ่งถือเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลฉบับแรกของคนไทย ที่่เป็นไปตามมาตรฐาน แม่นยำ และถูกต้องตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยจะเป็นมาตรฐานใหม่ในการสร้างพลเมืองดิจิทัลและสังคมการใช้งานดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีชี้้วัดสุขภาวะดิจิทัลแสดงให้เห็นถึงทักษะดิจิทัลของคนไทย แบ่งเป็น 3 ระดับ ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงโครงการอื่น ๆ ได้ที่หัวข้อ ความเหมาะสมและความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ ในรายงานการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนประจำปี 2566