เอไอเอสตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ 1) ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ 2) ต้นทุนในการลงทุน การบำรุงรักษา และการประกันภัย 3) การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์และนโยบาย และ 4) พฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงมุ่งมั่นในการวางเป้าหมายการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (Science-based Target) ซึ่งครอบคลุมถึงการสนับสนุนให้ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยส่งผลเชิงบวกทั้งต่อโครงสร้างต้นทุน ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในระยะยาว รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ความเป็น Cognitive Tech-co ที่ไม่เป็นเพียงแค่ผู้นำทางด้านนวัตกรรม แต่ยังจะสามารถครองใจลูกค้าในฐานะธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลการดำเนินงาน
ปี 2566
การลดความเข้มข้นในการ
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ร้อยละ
การเพิ่มสัดส่วนการใช้
พลังงานทางเลือก
ร้อยละ
เป้าหมายการดำเนินงาน
ภายในปี 2566
การลดความเข้มข้นในการ
ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ร้อยละ 90
การเพิ่มสัดส่วนการใช้
พลังงานทางเลือก
ร้อยละ 5
ภายในปี 2593
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2593
แนวทางการดำเนินงาน
เอไอเอสได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
ส่งเสริมประสิทธิภาพพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นำระบบ AI มาใช้ประมวลผลและวิเคราะห์การใช้งานระบบเครือข่าย สำหรับบริการจัดการช่องสัญญาณและการใช้พลังงานให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้า เพื่อคุณภาพบริการที่ดีต่อลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
 tCO2e
การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ในปี 2566 เอไอเอสได้ดำเนินการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนด้วยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่สถานีฐานและอาคารชุมสายเพิ่มเติม โดยมีการลงทุนกับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งสิ้น 580 ล้านบาท การดำเนินการนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Taxonomy) ในประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเอไอเอสในการยึดถือแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน เนื่องจากคณะกรรมการ Taxonomy ในประเทศไทยเพิ่งออกเกณฑ์ Taxonomy ระยะที่ 1 สำหรับภาคพลังงานและการขนส่ง มาปรับใช้ในการประเมินระดับความยั่งยืนของกิจกรรมทางธุรกิจซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของเราสู่อนาคตที่ยั่งยืน
มีแหล่งพลังงานทดแทน
 แห่ง
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
 tCO2e
การพัฒนาระบบจัดการสิ่งแวดล้อมและการให้ความรู้พนักงาน
เอไอเอสได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO14001:2015 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อมระดับสากลโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ในพื้นที่ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์รวม 2 แห่ง นอกจากนั้น ยังมีการจัดอบรมให้ความรู้พนักงานในฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของ ISO14001:2015 และมาตรฐานด้านการจัดการพลังงานตามมาตรฐาน ISO50001 ดูรายละเอียดการรับรองระบบจัดการสิ่งแวดล้อมได้ที่หัวข้อ เอกสารที่เกี่ยวข้อง
การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้น้ำหมุนเวียน
ในปี 2566 ระบบทำความเย็นของศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ต้องใช้น้ำสะอาดที่ผ่านการกรองน้ำด้วยระบบ Reverse Osmosis (RO) อย่างไรก็ดี มีน้ำส่วนหนึ่งที่ได้จากการกรองแต่ไม่สามารถนำไปใช้ในระบบทำความเย็นได้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 ของน้ำทั้งหมด เราจึงนำน้ำส่วนนี้มาใช้สำหรับล้างทำความสะอาดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาของศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแผงพลังงานแสงอาทิตย์ และยังเป็นการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
นอกจากนี้ เรายังริเริ่มโครงการนำร่องลดการใช้น้ำที่ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ 1 แห่ง โดยใช้ระบบสลายและป้องกันตะกรันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Electronic Anti Scale) แทนการกรองน้ำใช้ด้วยระบบ Reverse Osmosis ซึ่งช่วยลดปริมาณน้ำทิ้งได้มากกว่าร้อยละ 30 ทั้งนี้ เราจะขยายผลโครงการนำร่องนี้เพื่อลดปริมาณน้ำใช้ในระบบทำความเย็นสำหรับศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์แห่งอื่นต่อไป
ลดปริมาณน้ำทิ้งได้
มากกว่าร้อยละ 
การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและการปกป้องรักษาป่าไม้
เอไอเอสมุ่งเน้นที่จะอนุรักษ์และปกป้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศธรรมชาติจากการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายที่ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าด้านความหลากหลายทางชีวภาพสุทธิ (No Net Loss -NNL) และไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้สุทธิ (No Net Deforestation) ภายในปี พ.ศ. 2570 สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เอกสารการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการปกป้องรักษาป่าไม้
การมีส่วนร่วมของลูกค้าเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เอไอเอสนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทั้งในการดำเนินงานภายในองค์กร และการดำเนินงานกับพันธมิตรทางธุรกิจผ่านโครงการ Full-E Services ในปี 2566 มีผู้ใช้งาน myAIS เพิ่มขึ้นเป็น 11.7 ล้านคน เติบโตจากปีก่อนหน้าร้อยละ 21 มีลูกค้ารับแจ้งค่าบริการผ่านอิเล็กทรอนิกส์ 120 ล้านรายการ และมีการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ 137 ล้านรายการ ซึ่งเป็นการช่วยลดการใช้กระดาษ และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ลูกค้าต้องเดินทางมาทำธุรกรรมที่ศูนย์บริการลูกค้า
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
 tCO2e
ตารางสรุปผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด หน่วย 2563 2564 2565 2566 เป้าหมายปี 2566
ก๊าซเรือนกระจก    
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม (SCOPE 1 และ 2) tCO2e 696,883 645,321 675,497 704,264 711,691
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (SCOPE 1)
tCO2e 11,196 8,931 7,411 9,351 10,067
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (SCOPE 2)
tCO2e 685,687 636,390 668,086 694,913 701,624
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (SCOPE 3)
tCO2e N/A 132,614 456,538 414,205  
สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก tCO2e ต่อเทระบิต 0.015 0.01 0.008 0.007  
พลังงาน    
การใช้พลังงานรวม เมกะวัตต์-ชั่วโมง 1,220,024 1,318,495 1,394,989 1,456,351  
เทระจูล 4,392 4,747 5,022 5,243  
การใช้พลังงานสิ้นเปลืองรวม เมกะวัตต์-ชั่วโมง 1,214,006 1,302,213 1,370,796 1,423,592 1,439,580
เทระจูล 4,371 4,688 4,935 5,125  
การใช้พลังงานทางตรง: น้ำมัน และอื่น ๆ
เมกะวัตต์-ชั่วโมง 36,052 29,178 34,356 33,488  
เทระจูล 130 105 124 121  
การใช้พลังงานทางอ้อม: พลังงานไฟฟ้า
เมกะวัตต์-ชั่วโมง 1,177,954 1,273,035 1,336,440 1,390,104  
เทระจูล 4,241 4,583 4,811 5,004  
การใช้พลังงานทดแทน เมกะวัตต์-ชั่วโมง 6,017.86 16,282 24,193 32,759 32,326
เทระจูล 21.6643 59 87 118  
สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ร้อยละของการใช้พลังงานรวม 0.49 1.23 1.73 2.25  
ค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (PUE) หน่วย 1.56 1.51 1.505 1.502 1.503
การใช้พลังงานรวม ในศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ เมกะวัตต์-ชั่วโมง 70,182 77,261 83,851 89,629  
สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ร้อยละของการใช้พลังงานรวม 1.02 1.57 1.74 1.69 2.20
ต้นทุนการใช้พลังงานรวม ล้านบาท 4,853 5,138 5,798 9,351  
การใช้น้ำ    
ปริมาณการดึงน้ำมาใช้ ลูกบาศก์เมตร 217,186 179,306 198,751 199,734 210,000
น้ำจากบุคคลที่สาม
ลูกบาศก์เมตร 213,479 175,958 194,762 194,870  
อยู่ในแหล่งน้ำขาดแคลน
ลูกบาศก์เมตร - - - -  
น้ำใต้ดิน
ลูกบาศก์เมตร 3,707 3,348 3,989 4,864  
อยู่ในแหล่งน้ำขาดแคลน
ลูกบาศก์เมตร 3,707 3,348 3,989 4,864  
ปริมาณการปล่อยน้ำทิ้ง ลูกบาศก์เมตร - - 101,322 68,871  
ปริมาณการบริโภคน้ำทั้งหมด ลูกบาศก์เมตร - - 97,429 130,863  

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงโครงการอื่น ๆ ได้ที่หัวข้อ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในรายงานการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนประจำปี 2566