ดาวน์โหลดเอกสาร
Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) by AIS ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย

อะไรคือดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย?

เราคงคุ้นเคยกับการวัดระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) หรือแม้แต่ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสามารถของคนเราในด้านต่างๆ ทำให้รู้ว่าตัวเองต้องเก่งด้านไหน หรือขาดทักษะด้านไหน ที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม และวันนี้ประเทศไทยกำลังจะมีเครื่องวัดผลทักษะการใช้งานในโลกไซเบอร์มิติต่างๆ เป็นครั้งแรก อย่าง
" Thailand Cyber Wellness Index หรือ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย "
เพื่อให้ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index เป็นไปตามพื้นฐานของการศึกษาวิจัย เพื่อให้เกิดความแม่นยำถูกต้องสูงสุด ทำให้ AIS ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอย่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ประกอบด้วย ด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดและประเมินผล โดยการออกแบบกรอบแนวคิดของการศึกษาขั้นตอนและวิธีการเก็บผล การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษาจนออกมาเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย
เทคโนโลยี
สุขภาพ
สื่อสารมวลชน
การศึกษา
การประเมินผล
ระดับสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย

สุขภาวะดิจิทัลระดับสูง (ADVANCED)

ผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์ รวมถึงยังรู้เท่าทันการใช้งาน และภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ ที่สำคัญยังสามารถแนะนำให้คนรอบข้างเกิดทักษะในการใช้งานดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

สุขภาวะดิจิทัลระดับพื้นฐาน(BASIC)

เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโลกไซเบอร์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์

สุขภาวะดิจิทัลระดับที่ต้องพัฒนา (IMPROVEMENT)

เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล มีความเสี่ยงต่อการใช้งานในโลกไซเบอร์
7 ภูมิภาค 77 จังหวัด รวมทั้งหมด
21,862
คน
แบ่งเป็น
ชาย
48.24
%
หญิง
51.76
%
แบ่งตามอายุ
แบ่งตามอาชีพ
สุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ปี 2566 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ "พื้นฐาน" แต่เมื่อพิจารณาแต่ละระดับ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.04 อยู่ใน "ระดับต้องพัฒนา" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น เนื่องจากระดับต้องพัฒนาเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการใช้ดิจิทัลได้อย่างไม่เหมาะสม
การใช้ดิจิทัล
ระดับพื้นฐาน
การรู้เท่าทันดิจิทัล
ระดับพื้นฐาน
การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล
ระดับต้องพัฒนา
เข้าใจสิทธิทางดิจิทัล
ระดับต้องพัฒนา
ความมั่นคงความปลอดภัยทางดิจิทัล
ระดับพื้นฐาน
การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์
ระดับสูง
การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล
ระดับต้องพัฒนา
ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) เป็นกลุ่มอายุเดียวที่มีค่าเฉลี่ยของดัชนีชีวัดสุขภาวะทางดิจิทัลอยู่ในระดับต้องพัฒนา (Improvement) ในกลุ่มอายุอื่นๆ อยู่ในระดับพื้นฐาน ซึ่งกลุ่มที่มีค่าดัชนีชี้วัดสูงที่สุดคืออายุ 16-18 ปี
ผู้ที่มีอาชีพพนักงานของรัฐมีระดับดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลในภาพรวมสูงที่สุด (0.78) รองลงมาคือ อาชีพรับราชการ (0.67) นักเรียน/นักศึกษา (0.59) และข้าราชการบำนาญ (0.47) โดยอยู่ในระดับพื้นฐาน ส่วนผู้ที่ว่างงาน (0.42) พนักงานบริษัทเอกชน (0.41) ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (0.38) รับจ้างทั่วไป (0.33) รัฐวิสาหกิจ (0.31) และเกษตรกร (0.24) อยู่ในระดับต้องพัฒนา
กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีค่าเฉลี่ยดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลในภาพรวมสูงที่สุด (0.61) โดยอยู่ในระดับพื้นฐาน รองลงมาคือ ภาคอีสาน (0.59) ภาคกลาง (0.50) ภาคตะวันออก (0.52) ภาคใต้ (0.49) โดยอยู่ในระดับพื้นฐาน ภาคตะวันตก (0.40) และภาคเหนือ (0.33) อยู่ในระดับต้องพัฒนา ตามลำดับ

ดาวน์โหลดเอกสาร

Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) by AIS ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย