ผู้หญิงที่อยู่เบื้องหลัง การก้าวสู่ Cognitive Tech-Co ของ AIS

DE&I หรือ Diversity, Equity และ Inclusion เป็นสิ่งที่องค์กรในปัจจุบันใช้เป็นเสาหลักในการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน เพื่อสร้างคุณค่าให้กับพนักงาน ผ่านการใช้ศักยภาพและความสามารถ เพื่อทลายกำแพงหรือข้อจำกัดเรื่องเพศ หรือ Generation

เช่นเดียวกับ AIS ที่ให้ความสำคัญกับความสามารถของบุคลากรและพนักงานเป็นหลัก เพื่อสร้างสรรค์สังคมการทำงานที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม พร้อมมอบโอกาสการทำงานโดยไม่มีการแบ่งแยก ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เพศอะไร ขอแค่คุณมีศักยภาพในการทำงาน คุณก็สามารถเติบโตได้ที่ AIS

และเนื่องใน ‘วันสตรีสากล 2567Women international day เราชวนมาอ่านมุมมองของ 5 พนักงานหญิงที่สะท้อน Passions การทำงานที่เชื่อมั่นในการใช้ความสามารถเป็นจิ๊กซอว์สำคัญร่วมขับเคลื่อนองค์กรเทคโนโลยี สู่การเป็น Cognitive Tech-Co

เริ่มต้นจาก โอปอล เลิศอุทัย Head ด้าน CRM ผู้ดูแลและออกแบบประสบการณ์ของลูกค้า AIS ได้เล่าถึงมุมมองของคำว่า “โอกาส” ไว้ว่า “โอกาสก็เหมือนกับงานที่วันนี้ดูแลอยู่ คือ การมอบโอกาสที่จะเข้าถึงประสบการณ์จากงานบริการของเอไอเอสให้แก่ลูกค้ากว่า 49 ล้านราย ผ่าน Digital Platform ซึ่งสนุกและท้าทายมาก เพราะเราได้มีโอกาสทำงานท่ามกลางพี่ๆ น้องๆ ที่เต็มเปี่ยมด้วยหัวใจบริการ และรักลูกค้าขั้นสุด”

และถ้าถามว่า โอกาส ของผู้หญิงใน AIS ตอบได้ทันทีเลยว่า ที่นี่ Genderless สิทธิ เสรีภาพ โอกาสในการแสดงความสามารถเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันกลับมองว่าผู้หญิงก็มีข้อได้เปรียบในโลกการทำงาน เช่น การได้รับความเอ็นดู หรือมีความอดทนต่อแรงกดดันได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำข้อได้เปรียบตรงนี้ไปจัดการปัญหาและนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้

อีกส่วนงานสำคัญที่ช่วยต่อยอดและเติมเต็มศักยภาพด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ กับ AIS The StartUp โดย ดร.ศรีหทัย พราหมณี ผู้จัดการด้านเอไอเอส สตาร์ทอัพ กล่าวถึงบทบาทในการทำงานว่า “โอกาสที่ได้รับในการทำงานที่ AIS ถือเป็นความท้าทาย เนื่องจากต้องมีความเป็นผู้นำสูง เพราะการทำงานกับกลุ่มสตาร์ทอัพ ความท้าทายคือเราไม่ได้นำแค่กลุ่มคน แต่เรานำธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญที่ AIS มอบโอกาสให้ตนเองได้มาทำงานในส่วนนี้ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ และไม่ว่าจะได้รับบทบาทไหน ตนเองก็พร้อมทำสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด

แนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการทำงานคือ Charismatic Leadership หรือการมีภาวะผู้นำที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ ด้วยการที่ต้องทำงานในบทบาทผู้นำหญิง ตนเองจึงดึงจุดเด่นตามแนวคิดดังกล่าว มาช่วยส่งเสริมการทำงานพร้อมขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Cognitive Tech-Co ขององค์กรได้ต่อไป

อีกมุมมองของผู้หญิงเก่งจากส่วนงานที่เป็นหัวใจสำคัญของ AIS ในการให้บริการลูกค้าอย่าง Call Center ที่วันนี้ได้นำ AI มาเป็นเครื่องมือในการดูแลลูกค้า โดย ดร.น้ำทิพย์ ทาตะนาม ได้เล่าถึงโอกาสที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการทำงาน “การได้รับโอกาสและความไว้วางใจจากหัวหน้า ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พิ้งค์สามารถเปลี่ยนระบบการทำงานสู่การนำเทคโนโลยี AI เข้าช่วยในการจัดระบบ Workforce ของพนักงาน และลดการทำงานแบบ Routine อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพใหม่ๆ ให้กับบุคลากร ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ”

ส่วนตัวเป็นผู้หญิงที่เติบโตมากับสายงานในโลกของ IT ซึ่งทำให้เรากล้าคิด กล้าลองอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ เมื่อโลกนี้สามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาได้ แสดงว่าก็ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ แต่หากมองอีกมุมการเป็นผู้หญิงเราอาจจะได้เปรียบจาก Soft Skill ที่มีความละเอียดอ่อนและสามารถบริหารจัดการในบางเนื้องานได้ดีกว่าอีกด้วย

มาถึง 2 วิศวกรสาวยุคใหม่ กับบทบาทสำคัญในการดูแลโครงข่ายโทรคมนาคมอัจฉริยะ น้องลักษิกา วิฑูรรัตน์ ได้เล่าถึงการก้าวสู่อาชีพวิศวกรว่า “ก็จริงอยู่ที่วิศวกรส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ชาย แต่หากเราลองมองอีกมุมหนึ่งว่าถ้าเราเป็นผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จในอาชีพวิศวกรนี้ได้ก็ดูมีความท้าทาย และเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าผู้หญิงก็สามารถทำทุกอย่างได้เช่นเดียวกันไม่เกี่ยวกับเรื่องของเพศ ซึ่งการทำงานที่ AIS เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีเลยว่าวิศวกรไม่ว่าจะเป็นเพศไหนทุกคนได้รับ โอกาสในการทำงานอย่างเท่าเทียมกัน

ด้านน้องวริษา ไชยมงคล ได้เล่าถึงจุดเปลี่ยนของการเดินหน้าสู่การเป็นวิศวกรสาวไว้อย่างน่าสนใจ “แรงบันดาลใจของการทำงานสายวิศวกร เริ่มต้นจากการมองเห็นความสำคัญของอินเทอร์เน็ตและสัญญาณมือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร เลยมีความตั้งใจที่อยากจะทำงานเพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานที่ AIS ได้รับโอกาสในการเขียนโปรแกรมระบบอัตโนมัติเพื่อแจ้งเตือนพื้นที่ที่มีปัญหาในการใช้ ทำให้เราสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ได้ลองทำงานที่เรามีความสนใจและตรงกับเป้าหมายที่วางเอาไว้

เมื่อถามว่าต่อว่าในสายงานของวิศวกรการเป็นผู้หญิงนั้นคิดว่าได้โอกาสมากกว่ายังไงบ้าง ทั้ง 2 สาวได้มีความเห็นที่ตรงกันว่า สำหรับหนูทั้ง 2 คน คิดว่าในการทำงานที่ AIS นั้น เพศไม่มีส่วนสำคัญกับการทำงานเลย ทุกคนที่นี่มีความเท่าเทียมกันในการทำงาน นอกจากนี้การทำงานที่นี่ยังเปิดโอกาสให้เราทั้ง 2 คนได้ลองทำงานอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ นับเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เราสามารถเติบโตในสายงานวิศวกรของเราอย่างไม่มีข้อจำกัดใดๆ

และนี่คือมุมมองของบุคลากรหญิงทั้ง 5 คนของ AIS ที่ยืนยันถึงการโอบกอดและการเปิดรับความหลากหลายแบบไร้ข้อจำกัด ขอแค่ทุกคนกล้าที่จะแสดงความสามารถ AIS ก็พร้อมมอบพื้นที่ในการมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการผลักดันการเติบโตขององค์กรได้อย่างเต็มที่

สุดท้ายนี้ AIS ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อ inspiration สู่ผู้หญิงและทุกคน ให้เชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง และกล้าที่จะแสดงในความสามารถของตัวเอง