การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลให้มีการเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยขึ้นเพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น และสามารถตอบสนองต่อการใช้งานในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุให้ของเสียอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เอไอเอสมุ่งมั่นในการบริหารจัดการของเสียที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนากระบวนการดำเนินงานเพื่อลดปริมาณการเกิดของเสียและเพิ่มการรีไซเคิลของเสียต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธีเพื่อนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือกำจัดอย่างถูกต้องด้วย
แนวทางการดำเนินงาน
โครงการที่เราจัดทำ
การบริหารจัดการขยะจากอาคารสำนักงาน
ศูนย์ AIS Contact Center Development & Training Arena จังหวัดนครราชสีมาได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยสามารถลดขยะที่เกิดจากเศษอาหารประมาณ 9 ตันต่อปี
ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้จาก Food Waste Composter
การแจกจ่ายปุ๋ยอินทรีย์ให้กับพนักงาน
โครงการ “คนไทยไร้ e-waste”
ส่งเสริมให้คนไทยเข้าใจและทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี ผ่านโครงการ “คนไทยไร้ e-waste” โดยเน้นการขยาย ความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน จนสามารถขยายจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้กว่า 2,500 จุดทั่วประเทศ พร้อมเปิดตัวแอปพลิเคชัน e-waste+ ระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บน Blockchain มาใช้ในบริหารการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยสามารถอ่านรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมได้ที่นี่
ตารางสรุปผลการดำเนินงาน
ตัวชี้วัด หน่วย 2562 2563 2564 2565 เป้าหมายปี 2565
ปริมาณของเสียที่เกิดจากการดำเนินงานรวมทั้งหมด ตัน 803 548 183 1,277  
รวมปริมาณของเสียที่นำไปจัดการด้วยวิธีการอื่นก่อนการกำจัดขั้นสุดท้าย
ตัน 113 356 147 1,094  
รวมปริมาณของเสียที่นำไปกำจัดขั้นตอนสุดท้าย
ตัน 690 192 36 183 190

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมรวมถึงโครงการอื่น ๆ ได้ที่หัวข้อ การลดและกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ในรายงานการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนประจำปี 2565